Category Archives: Epilepsy

การวินิจฉัย

การวินิจฉัย

Coregistration1-150x150

 

 

 

 

 

แพทย์จะวินิจฉัยโรคลมชักโดยอาศัยข้อมูลของลักษณะชักที่ได้จากคนไข้และผู้พบเห็นผ.ป.ในขณะชัก

ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต, ปัจจุบัน, ประวัติครอบครัว

การตรวจร่างกาย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจคลื่นสมอง (EEG)

บางครั้งอาจใช้การวินิจฉัยอื่นๆอาจมีความจำเป็น เช่น การตรวจเอ๊กซ์เรยคลื่นแม่เหล็กสมอง (MRI),

การตรวจคลื่นสมองพร้อมวีดีโอ 24 ชั่วโมง,

การตรวจสมองโดยใช้สารกัมมันตรังสี (SPECT) เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพในสมอง

 

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

 

ข้อพึงปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก

1. ควรรับประทานยากันชักตามคำแนะนำของแพทย์ทุกวันอย่างสม่ำเสมอและตามเวลาที่แนะนำ

2. ควรสังเกตอาการข้างเคียงของยาตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจหยุดยาเองเพราะบางกรณีหากหยุดยาเองอาจทำให้เกิดอาการชักอย่างรุนแรงเพราะขาดยาได้

3. จดบันทึกลักษณะอาการชักทุกครั้งที่มีตลอดจนวันและเวลาที่มีอาการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการปรับขนาดยา หรือช่วงเวลาที่จะให้ยาแก่ผู้ป่วย

4. ควรหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆที่อาจจะเสี่ยงต่อกาชักซ้ำ เช่น การอดนอน, การออกกำลังกายหักโหม, ขาดยากันชัก, อดอาหารเป็นต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. เมื่อพบผู่ป่วยที่กำลังชัก ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ

2. จับผู้ป่วยนอนตะแคงหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก และลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจ

3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม

4. ห้ามใช้นิ้วหรือสิ่งของใดๆงัดปากผู้ป่วยขณะชัก เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ

5. ผู้ป่วยหลังชักอาจมีอาการงงอยู่ ขณะยังไม่รู้สติ ห้ามยึดจับผู้ป่วยเพราะจะกระตุ้นผู้ป่วยให้ทำการต่อสู้รุนแรงได้

6. ในกรณีที่ผู้ป่วยหลับหลังชักควรปล่อยให้หลับต่อ ห้าม ป้อนอาหารหรือยาจนกว่าจะฟื้นเป็นปรกติเพราะอาจสำลักได้

7. ถ้าชักนานกว่าปรกติหรือชักซ้ำ ขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปรกติควรนำส่งโรงพยาบาล

 

คลีนิคโรคลมชัก

คลีนิคโรคลมชัก โครงการรักษาผ..โรคลมชักครบวงจร

btn_rxforsafety

ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ถ.ราชวิถี เขตพญาไท  กทม. 10400

อังคาร 9.00-13.00

พุธ 9.00-13.00

 

คลีนิคโรคลมชักเฉพาะผ..ที่เข้าร่วมยาวิจัยกันชักใหม่

ศุกร์ 9.00-12.00

 

โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชักเป็นปัญหาที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย  โดยมีอุบัติการณ์เกิดประมาณ 1% ของประชากร ในประเทศไทยประมาณว่ามี ผ.ป.โรคลมชักประมาณ 6-7 แสนคน โรคลมชักไม่ใช่โรคติดต่อเป็นโรคที่มีสาเหตุจากหลายฯชนิดอาจจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ขึ้นกับชนิดของการชัก โรคลมชักพบได้ในช่วงทุกอายุ หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆและถูกต้องในผ.ป.ส่วนใหญ่จะสามารถหายขาดได้

อาการชักเกิดเนื่องจากความผิดปรกติของกระแสไฟฟ้าภายในสมองซึ่งมีการนำของกระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อให้เกิดอาการชักตามมาโดยถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองเป็นบางส่วนจะทำให้เกิด “อาการชักเฉพาะที่โดยที่ยังรู้ตัวอยู่แต่ถ้ามีเหม่อลอยหมดสติทำอะไรไม่รู้ตัวเรียกว่า อาการชักแบบเหม่อ แต่ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดขึ้นรบกวนสมองทั้งสองข้างจะทำให้เกิดอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวหรือชักแบบแน่นิ่งที่พบบ่อยในเด็ก

อาการชักเฉพาะที่โดยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติอาจรบกวนสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกายทำให้เกิดอาการต่างฯใดยที่ยังรู้ตัว เช่น อาการชาหรือกระตุกของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเป็นซ้ำฯใดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง กลัว ความรู้สึกแปลกฯ ความรู้สึกเหมือนฝัน หูแว่ว เห็นภาพหลอน หรือหัวใจเต้นผิดปรกติ

อาการชักแบบเหม่อลอย ผ.ป.มักจะมีอาการเตือนนำมาก่อนเหมือนดังที่ได้กล่าวมาแล้วตามด้วยอาการเหม่อลอย ผ.ป.มักจะทำปากขมุบขมิบหรือเคี้ยวปากหรือมือเกร็งหรือขยับมือไปมาอาจคลำตามเสื้อผ้าอย่างไม่รู้ตัวเคลื่อนไหวแขนขาอย่างไร้จุดหมายโดยไม่รับรู้สิ่งรอบข้างแล้วโดยที่จำเหตุการณ์ระหว่างนั้นไม่ได้อาการเหม่อลอยจะนานประมาณไม่กี่วินาทีจนถึงหลายฯนาทีหลังจาก ผ.ป.มักจะมีอาการสับสน ในผ.ป.บางรายอาจจะมีอาการพูดไม่ได้หรือยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้อีกหลายนาที กว่าจะตื่นเป็นปกติ

อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าที่ผิดปรกติรบกวนการทำงานของสมองทั้งหมดจะเกิดอาการชักที่เรียกว่า “อาการชักทั่วทุกส่วน” หรือที่เรียกว่าโรคลมบ้าหมู ชนิดที่พบบ่อยคือ อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะสูญเสียการรู้สึกตัวทันที และล้มลง กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งทั่วทั้งตัว ตาจะเลือกค้าง น้ำลายฟูมปากอาจจะกัดลิ้นตนเองหรือปัสสาวะราด ระยะเวลาชักจะนานประมาณ 2 – 3 นาที หลังชักมักจะเพลียและนอนหลับหลังจากหยุดชัก

อาการชักแบบแน่นิ่ง พบได้บ่อยในวัยเด็ก อาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นมาก ผู้ป่วยจะจ้องไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมายเป็นระยะเวลาสั้นๆคล้ายกับเหม่อ ประมาณ 2 – 3 วินาทีแล้วกลับมาทำสิ่งที่ค้างอยู่ต่อไปโดยมักไม่มีการเคลื่อนไหวแขนขา

 

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โรคลมชักที่ดื้อต่อยาและการรักษาโดยการผ่าตัด

โดย พอ.นพ.โยธิน  ชินวลัญช์

พบว่าอุบัติการณ์โรคลมชักในประเทศไทยมีประมาณ 1% หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 700,000 คนในผู้ป่วยคนไทยที่ป่วยเป็นโรคลมชัก  มีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 30% หรือคิดเป็นตัวเลขประมาณ 40,000-50,000 คน เป็นอย่างต่ำที่เป็นผู้ป่วยที่ดื้อยา  ในเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยากันชักอย่างเหมาะสมแล้วอย่างน้อย 2 ตัว  แล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  โดยที่อาจจะยังมีอาการชักอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับการประเมินเพื่อหาพยาธิสภาพในสมองที่ผิดปกติ เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยจะสามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่   แต่อย่างไรก็ตามในการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน  และในการตรวจเหล่านี้จะต้องมีความละเอียด รอบคอบที่จะตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพ ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้อย่างถูกต้องแม่นยำ   มิฉะนั้นแล้วการรักษาโดยการผ่าตัดโดยที่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพียงพออาจจะทำให้การผ่าตัดไม่ได้ผล หรือก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้  ในการตรวจสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประเมินและการตรวจวินิจัฉยโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคลมชักโดยตรง

ขั้นตอนการตรวจรักษา มีดังต่อไปนี้

1. การตรวจ X-Ray  คลื่นแม่เหล็กสมองหรือ MRI Brain  ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อดูโครงสร้างของสมอง  เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่เป็นแผลเป็นในสมอง   การตรวจ MRI Brain ในปัจจุบัน มีการนำเครื่อง MRI ที่มีความคมชัดสูง คือ MRI 3 Tesla เข้ามาใช้ทำให้มีการตรวจหาพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักได้แม่นยำขึ้น  อนึ่งสิ่งที่สำคัญมากในการตรวจ MRI ก็คือ จะต้องมีการใช้เทคนิคในการตรวจ X-Ray สมองที่ถูกต้อง  ในทางทั่วไปการตรวจ MRI Brain ไม่ได้มีความละเอียดลออในการตรวจเช็คผู้ป่วยโรคลมชัก  แต่ในผู้ป่วยโรคลมชักจะต้องมีการใช้เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า Epilepsy Protocol  ซึ่งจะทำให้การตรวจหาพยาธิสภาพแผลเป็นได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น  รวมทั้งการวินิจฉัย X-Ray สมอง  จะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมโรคลมชักมาโดยตรง  เราพบว่าพยาธิสภาพในสมองที่ก่อให้เกิดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมักจะเป็น hippocampal Sclerosis  ซึ่งเป็นพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุมาจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก  เช่น  มีการติดเชื้อในสมอง, สมองขาดออกซิเจน, มีไข้สูงแล้วชัก หรือมีอุบัติเหตุแล้วทำให้เกิดแผลเป็นชนิดนี้ในเด็ก  ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 10 ปี หรือเข้าสู่ภาวะ 20 ปี  ก็จะเริ่มมีอาการชักเกิดขึ้นจากแผลเป็นชนิดนี้  นอกจากนี้ยังมีพยาธิสภาพอย่างอื่นอีกมากมาย  ที่ก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา เช่น การมีเนื้องอกในสมอง, หยักในสมองผิดปกติ, เซลล์ในสมองอยู่ผิดที่ หรือเซลล์มีการจับตัวเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าในสมองผิดปกติ  และก่อให้เกิดโรคลมชักที่ดื้อต่อยา ข้อมูลที่ได้จากการตรวจ MRI Brain จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปประกอบการวินิจฉัยเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับข้อมูลอย่างอื่น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบ 24 ชม. หรือ การตรวจทางกัมมันตรังสีต่อไป

2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)  ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

2.1 การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบทั่วไป (routine EEG) ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที  เป็นการตรวจในขณะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการชัก  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ง่ายแบบผู้ป่วยนอกได้  แต่ข้อจำกัดของการตรวจชนิดนี้ คือ โอกาสที่จะพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชักมีอยู่แค่ประมาณ 40%

2.2 การตรวจคลื่นไฟฟ้าแบบ 24 ชม. (VEM; video-EEG monitoring) การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจดูคลื่นไฟฟ้าที่ยาวขึ้น และมีจุดประสงค์เพื่อดูคลื่นไฟฟ้าในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนในในโรงพยาบาล และมีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองตลอดเวลา  โดยที่มีการใช้ขั้วไฟฟ้าติดที่หนังศีรษะโดยใช้กาวพิเศษทำให้ไม่หลุดได้ง่าย  การตรวจชนิดนี้ก็เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะอาการชักของผู้ป่วยว่ามีอาการชักเป็นชนิดไหน  รวมทั้งดูตำแหน่งของไฟฟ้าที่เกิดอาการชักว่ามีจุดก่อกำเนิดมาจากส่วนไหนของสมอง  การตรวจชนิดนี้จะเป็นการตรวจที่มีความสำคัญมากในการที่จะใช้เป็นข้อมูลไปประกอบกับผลการตรวจ MRI Scan  เพื่อจะดูว่าตำแหน่งที่ ก่อให้เกิดโรคลมชักนั้นสามารถที่จะผ่าตัดได้หรือไม่

3. การตรวจทางกัมมันตรังสี (Ictal SPECT)  การตรวจทางกัมมันตรังสีโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยในขณะที่มีอาการชักสารกัมมันตรังสีตัวนี้เป็นสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในการแพทย์และมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย  การตรวจ Ictal SPECT จะทำไปพร้อมกับในขณะที่ผู้ป่วยตรวจคลื่นไฟฟ้า 24 ชม. ในโรงพยาบาลโดยที่จะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก  หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการส่งไปตรวจทำ Scan  เพื่อดูภาพในสมองว่าจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดอาการชักมาจากตำแหน่งส่วนใดของสมอง  ภาพที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประกอบร่วมการพิจารณากับผล MRI Brain และผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

4. การตรวจ PET Scan เป็นการตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดอาการชักอีกวิธีหนึ่งโดยดูการเปลี่ยนแปลงการดูดซึมสารน้ำตาลในสมอง  เราพบว่าในผู้ป่วยโรคลมชักตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการชักมักจะมีการดูดซึมสารของน้ำตาลที่ผิดปกติ  โดยสารน้ำตาลตัวนี้จะมีการเกาะกับสารกัมมันตรังสีที่จะฉีดเข้าไปในตัวผู้ป่วย  การตรวจชนิดนี้สามารถทำได้ในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชัก  เป็นการตรวจชนิดหนึ่งซึ่งจะได้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเพื่อหาตำแหน่งร่วมกับการตรวจชนิดอื่น

5. การตรวจเรื่องความจำ (Memory test) ซึ่งการตรวจชนิดนี้มีความจำเป็นจะต้องทำในผู้ป่วยชนิด Temporal Lobe Epilepsy   ในการรักษาผู้ป่วยชนิดนี้  การผ่าตัดอาจจะมีความเสี่ยงต่อเรื่องของการสูญเสียเรื่องความจำระยะสั้นได้  ดังนั้นจะต้องมีการประเมินเรื่องความจำว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนใดของสมองเพื่อจะพิจารณาว่าการผ่าตัด Temporal Lobectomy ว่าสามารถทำได้หรือไม่  หากตรวจแล้วพบว่าสมองเกี่ยวกับเรื่องของความจำอยู่ในตำแหน่งที่จะเข้าไปผ่าตัด  การผ่าตัดนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำต่อได้

นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาตำแหน่งของศูนย์ที่เกี่ยวกับภาษาว่าอยู่ในตำแหน่งส่วนไหนของสมองอยู่ทางซีกซ้ายหรือซีกขวา   สิ่งเหล่านี้จะมีการตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพอยู่ใกล้ตำแหน่งที่เราคาดว่าจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องการพูดหรือว่าสมองเรื่องการเข้าใจ

ส่วนการตรวจการทำงานของสมองในแต่ละส่วนจะมีการตรวจบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในตำแหน่งที่เราสงสัยว่าอาจจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย  ในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความแตกต่างกัน การตรวจเหล่านี้จะมีการตรวจอยู่หลากหลาย เช่น การตรวจการทำงาน  การควบคุม แขน ขา ของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง, การตรวจเรื่องการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือว่าการตรวจสมองเรื่องการมองเห็นในกรณีที่พยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดการชักอยู่ใกล้ในส่วนของสมองที่ควบคุมเรื่องการมองเห็น เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการผ่าตัดโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาเป็นการผ่าตัดที่มีการเตรียมการผู้ป่วยอย่างละเอียดอ่อนอย่างมาก  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีเราถือว่าการผ่าตัดโรคลมชักมีความเสี่ยงต่อการผิดปกติ หรือผลแทรกซ้อนต่อการผ่าตัดค่อนข้างต่ำมาก  ดังนั้นในผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาหลังจากที่ได้มีการให้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวแล้วผู้ป่วยยังไม่สามารถที่จะควบคุมอาการชักได้ก็ควรจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับการตรวจเพื่อตรวจหาตำแหน่งพยาธิสภาพดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

ในการรักษาโดยการผ่าตัดส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องไดัรับการผ่าตัดและอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1 อาทิตย์  หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 อาทิตย์ผู้ป่วยสามารถที่จะกลับบ้านได้และสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติยกเว้นกิจกรรมใดที่หนักเกินไป เช่น ความเครียดหรือการยกสิ่งของหนักหรือทำงานหนักอาจจะต้องหลีกเลี่ยงในช่วง 2-3 อาทิตย์แรก  หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วจะต้องทานยากันชักต่ออีกประมาณ 1-2 ปี  สิ่งเหล่านี้เป็นการที่จะทำให้มั่นใจว่าเซลล์ไฟฟ้าในสมองในส่วนอื่น ๆ ไม่ได้รับการถูกกระตุ้น หรือก่อให้เกิดความผิดปกติตามมา

ส่วนการผ่าตัดรักษาโรคลมชักชนิด Extra Temporal Epilepsy เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดที่ยุ่งยากกว่าการผ่าตัดชนิด Temporal Lobe Epilepsy การผ่าตัดรักษาโรคลมชักผู้ป่วยชนิด Extra TEmporal Epilepsy ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์  จะต้องมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ  เป็นขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดคลื่นไฟฟ้าจากผิวสมองโดยตรง ที่เรียกว่า  Subdural Grid  เป็นการวางขั้วไฟฟ้าลงบนผิวสมองและวัดไฟฟ้าที่มาจากสมอง  การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจชนิดพิเศษซึ่งจะทำเฉพาะในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคลมชักอยู่ในสมองส่วน Extra Emporal Epilepsy การผ่าตัดชนิดนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ ผลสำเร็จทางการผ่าตัดชนิดนี้ขึ้นอยู่กับว่าการตรวจหาคลื่นไฟฟ้าสมองได้แม่นยำขนาดไหนโดยจะต้องมีการปรึกษากับแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างใกล้ชิด

โดยสรุปการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยาโดยวิธีการผ่าตัดเป็นการรักษาที่มาตรฐานในผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ยากันชักอย่างน้อย 2 ตัวซึ่งเป็นยามาตรฐานแล้วยังไม่สามารถคุมอาการชักได้  และได้รับการตรวจตามขั้นตอนอย่างละเอียดซึ่งเป็นผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าการผ่าตัดน่าจะได้ประโยชน์ ไม่มีผลแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย  การผ่าตัดเหล่านี้สามารถจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการชักลดลงหรือหายขาดจากอาการชักได้สูงถึง 50-90%  ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคลมชักที่เป็นอยู่

 

APRC Associate School of Neuroscience, Bangkok

APRC Associate School of Neuroscience, Bangkok

 

 

Dates: July 28 – August 1, 2013

School Web Site URL: http://www.tnsthai.com/

Organizer: Kanokwan Tilokskulchai

Purpose of the School : To provide basic knowledge of electroencephalography from basic research to clinical research and clinical application.

The Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University and the Thai Neuroscience Society, in cooperation with the International Brain Research Organization (IBRO), is pleased to announce the opening of the IBRO-APRC Associate School 2013 with financial support from the IBRO Asian/Pacific Regional Committee (IBRO-APRC). The Associate School will take place at the Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University and will consist of five days of intensive basic and advanced lectures with demonstrations, discussion by lecturers from Canada, the US, Japan and Thailand.

Deadline for applications: April 28, 2013 (Midnight GMT)

You must register to apply:  http://ibro.info/register/

Please log-in if you’ve already registered: http://abc.yt/z